วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการเรียนรู้

องค์ประกอบของการเรียนรู้

          ศักดิ์ เจียมทะวงษ์(http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html)ได้กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการคือ
         1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
         2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้

         3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว


           http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chotirosj&month=11-2008&date=24&group=1&gblog=47 ได้กล่าวไว้ว่า จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่า มีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4องค์ประกอบ  
          1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                    เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตน มาเชื่อมโยงหรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่  และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
                   องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้
                          - ผู้เรียน  รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับเรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
                          - ผู้สอน    ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่างเพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป 
                   ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้ซึ่งทำได้ทั้งทางตรง  เช่น  การนำตัวอย่างดินเหนียว  ดินร่วน  และดินทรายให้เด็กได้สัมผัส  เพื่อสังเกตความแตกต่าง  และทางอ้อม  เช่น  การเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์เนื่องจากเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้
                  กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้  2 ลักษณะ  คือ  การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียนและการจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด   โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้านดังนี้
                 - ด้านความรู้   เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะสอน
                 - ด้านเจตคติ   เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับความคิดความเชื่อต่อไป
                 - ด้านทักษะ  เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทำทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน
          2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                      เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์ มวลประสบการณ์  ข้อมูล  ความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
                      กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดสะท้อนความคิด  หรือบอกความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันอย่างลึกซึ้ง   จนเกิดความเข้าใจชัดเจน  ได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่หรือเกิด/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                           - ด้านความรู้   ตั้งประเด็นให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่        ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ  ตัวอย่าง  เช่น  การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์  กรณีศึกษา  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การวิเคราะห์แยกประเภทหรือจัดกลุ่ม  การวิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
                            - ด้านเจตคติ  ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย  กระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลายเน้น ในเรื่องคุณค่า  อารมณ์ความรู้สึก  ความคิดความเชื่อ  มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการข้อสรุปจากการอภิปราย  และความคิดรวบยอดที่ได้จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
                             -  ด้านทักษะ     ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น  และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือฝึกปฏิบัติจนชำนาญ
           3.  การนำเสนอความรู้
                        เป็นองค์ประกอบที่เน้นผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ  โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
                          กิจกรรมในองค์ประกอบนี้  ได้แก่
                               - การให้แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้  ขั้นตอนทักษะ  ซึ่งทำให้โดยการบรรยาย  ดูวีดิทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร/ใบความรู้/ตำรา  ฯลฯ
                               - การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
                               - ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและ       อภิปรายประเด็นที่ได้มอบหมายให้                             
                          กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ      โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
                                - ด้านความรู้ ผู้เรียนเกิดความรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
                                - ด้านเจตคติ ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์     ที่กำหนดให้
                               -  ด้านทักษะ ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ  อย่างชัดเจน
          4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                    เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ  ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง  ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
                     จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  มีดังนี้
                              - ด้านความรู้   เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง  เช่น  สร้างคำขวัญ     ทำแผนภาพ  จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์/ เปรียบเทียบ ฯลฯ
                              -  ด้านเจตคติ   เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น  เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์  สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
                              -  ด้านทักษะ     เป็นการลงมือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนทักษะที่ได้เรียนรู้
                 การนำองค์ประกอบทั้ง  มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลังหรือใช้องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดแต่จำเป็นต้องให้มีครบทั้ง องค์ประกอบในแต่ละองค์ประกอบสามารถออกแบบกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ได้

         http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.ได้กล่าวไว้ว่า
               1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น

ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
              2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
              3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
             4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
             5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

สรุป
        องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ ดังนี้
        1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นองค์ประกอบที่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้ถึงความสามารถของตนมาเชื่อมโยงหรืออธิบายประสบการณ์ใหม่ แล้วรู้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่
         องค์ประกอบนี้สามารถทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอนดังนี้
             - ผู้เรียน รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับเรื่องราวของคนอื่น 
            - ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป 
          2.การสร้างความรู้ร่วมกัน  เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์ มวลประสบการณ์  ข้อมูล  ความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน จนเกิดความเข้าใจชัดเจน  ได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่หรือเกิด/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
              - ด้านความรู้ 
              - ด้านเจตคติ
              -  ด้านทักษะ
          3.  การนำเสนอความรู้   เป็นองค์ประกอบที่เน้นผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ  โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
         4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ  เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ
          และองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้คือ
                1.แรงจูงใจ
                2. กระบวนการสอน
                3.กระบวนการเรียนรู้
                4. เนื้อหาวิชาต่างๆ
                5.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                6.สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียน
                 
ที่มา 

ศักดิ์ เจียมทะวงษ์.[online] http://choompu32- tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.
                องค์ประกอบการเรียนรู้มีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ29 มิถุนายน 2558.

              องประกอบการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558.

http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.
               สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558.

             






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น