วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Play Method)
Natthaset teeratitham.(https://www.l3nr.org/posts/158821) ได้กล่าวไว้ว่าวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติไว้ดังนี้
1. แนวคิด
การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ในชีวิตจริง
2. ลักษณะสำคัญ การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเป็นการให้ผู้แสดง แสดงออกถึงความรู้สึก ความคิด ทัศนคติต่าง ๆ ออกมาเพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกโดยตัวผู้เรียนเอง
2) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกันได้
3) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่น
4) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและผู้ดูที่ดี
5) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ
4. จำนวนผู้เรียน การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้ในห้องเรียนปกติแต่จะแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่แสดงตามบทบาทที่กำหนด โดยครูหรือตามที่มอบ
หมายจากเพื่อน ซึ่งจะมีเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา
2) กลุ่มผู้สังเกตการณ์ อาจจะเป็นผู้เรียนที่อยู่นอกเหนือจากการแสดงทั้งหมดหรืออาจ
จะวางให้ชัดเจนว่าผู้เรียนคนใดจะเป็นผู้สังเกตการณ์ ทั้งนี้อาจจะเลือกโดยผู้สอนหรือผู้เรียนเองก็ได้แต่ที่สำคัญผู้สังเกตการณ์ต้องมีไหวพริบความสามารถในการนำเสนอได้
3) กลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มข้างต้น
5. ระยะเวลาการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะต้องมีการเตรียมการ การแสดง และสรุปผลที่ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ บางครั้งอาจต้องใช้เวลามากกว่ากิจกรรมอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอน
1. แนวคิด
การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ในชีวิตจริง
2. ลักษณะสำคัญ การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเป็นการให้ผู้แสดง แสดงออกถึงความรู้สึก ความคิด ทัศนคติต่าง ๆ ออกมาเพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกโดยตัวผู้เรียนเอง
2) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกันได้
3) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่น
4) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและผู้ดูที่ดี
5) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ
4. จำนวนผู้เรียน การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้ในห้องเรียนปกติแต่จะแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่แสดงตามบทบาทที่กำหนด โดยครูหรือตามที่มอบ
หมายจากเพื่อน ซึ่งจะมีเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา
2) กลุ่มผู้สังเกตการณ์ อาจจะเป็นผู้เรียนที่อยู่นอกเหนือจากการแสดงทั้งหมดหรืออาจ
จะวางให้ชัดเจนว่าผู้เรียนคนใดจะเป็นผู้สังเกตการณ์ ทั้งนี้อาจจะเลือกโดยผู้สอนหรือผู้เรียนเองก็ได้แต่ที่สำคัญผู้สังเกตการณ์ต้องมีไหวพริบความสามารถในการนำเสนอได้
3) กลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มข้างต้น
5. ระยะเวลาการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะต้องมีการเตรียมการ การแสดง และสรุปผลที่ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ บางครั้งอาจต้องใช้เวลามากกว่ากิจกรรมอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอน
6. ลักษณะห้องเรียน การแสดงบทบาทสมมุติอาจจะใช้ในห้องเรียนธรรมดา หรืออาจจะสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนจริงก็ได้
7. ลักษณะเนื้อหา การแสดงบทบาทสมมุติจะใช้ได้ดีในเนื้อหาที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบทบาทที่สมมุติขึ้นมาหรือบทบาทที่เป็นของผู้แสดงเอง ต่างก็เป็นเรื่องของพฤติกรรมนิสัย หรือบุคลิกภาพของมนุษย์ทั้งสิ้น แต่ผู้สอนก็อาจจะปรับใช้ในวิชาอื่น ๆ ก็ได้
8. บทบาทผู้สอน การสอนบทบาทสมมุติผู้สอนมีบทบาทดังนี้คือ
1) ผู้สอนเป็นผู้พัฒนาหรือช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกับผู้เรียนว่าจะกำหนดเรื่องราวใด ปัญหาใดที่จะกำหนดบทบาทสมมุติและตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น ภายหลังการแสดงบทบาทสมมุติแล้ว
2) ผู้สอนจะต้องเป็นผู้เตรียมคำถามเพื่อถามผู้เรียนให้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด
3) ผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นที่จะให้ผู้เรียนที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์ได้สังเกตการณ์
ประเด็นที่กำหนด
4) ผู้สอนมีส่วนร่วมชี้แนะและคอยดูแลกำกับให้การแสดงบทบาทเป็นไปตามวัตถุ
ประสงค์ที่กำหนดไว้
5) ผู้สอนต้องเป็นผู้คัดเลือกผู้แสดง ทั้งนี้เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามที่คาดหวัง
6) เป็นผู้ประเมินกระบวนการทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
9. บทบาทผู้เรียน
1) เป็นผู้แสดงบทบาทสมบูรณ์ตามที่ผู้สอนกำหนด
2) เป็นผู้สังเกตการณ์
3) เป็นผู้ชม
4) เป็นผู้แสดงความคิดเห็นหรือร่วมอภิปรายและสรุป
10. ขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียมการ ผู้สอนเป็นผู้กำหนดสถานการณ์หรือช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์หรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน แล้วกำหนดผู้แสดงบทบาทหรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน ทั้งนี้ส่วนใหญ่การแสดงบทบาทสมมุติจะแสดงทันทีทันใด โดยไม่ต้องมีการฝึกซ้อมมาก่อน โดยผู้สอนเพียงเป็นผู้อธิบายหรือซักซ้อมคร่าว ๆ เท่านั้น บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติ อาจจะใช้วิธีการทันทีทันใดแต่กำหนดหรือเลือกให้แสดงทันทีทันใด ผู้สอนต้องกำหนดผู้สังเกตการณ์และมอบหมายประเด็นที่จะสังเกตการณ์ให้ชัดเจน
ขั้นแสดง ให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทตามที่ได้รับมอบหมายหรือเตรียมมาซึ่งบางครั้งก็แสดงทันทีทันใด
ขั้นสรุป
เมื่อการแสดงจบลงผู้เรียนควรจะวิเคราะห์ อภิปราย และสรุป ด้วยตัวนักเรียนเอง ทั้งนี้อาจจะมีรูปแบบการอภิปรายตามความเหมาะสม บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติอาจจะต้องแสดงซ้ำเพราะว่าการแสดงในครั้งแรกเร็วเกินไปหรือไม่ชัดเจน
11. สื่อการสอนเมื่อสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ สื่อที่ใช้ในการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติส่วนใหญ่คือ ผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิด เนื้อหา และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ละขั้น และในการสรุปอาจจะใช้สื่ออื่นเสริมเพิ่มเติมก็ได้
12. การวัดและประเมินผล
8. บทบาทผู้สอน การสอนบทบาทสมมุติผู้สอนมีบทบาทดังนี้คือ
1) ผู้สอนเป็นผู้พัฒนาหรือช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกับผู้เรียนว่าจะกำหนดเรื่องราวใด ปัญหาใดที่จะกำหนดบทบาทสมมุติและตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น ภายหลังการแสดงบทบาทสมมุติแล้ว
2) ผู้สอนจะต้องเป็นผู้เตรียมคำถามเพื่อถามผู้เรียนให้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด
3) ผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นที่จะให้ผู้เรียนที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์ได้สังเกตการณ์
ประเด็นที่กำหนด
4) ผู้สอนมีส่วนร่วมชี้แนะและคอยดูแลกำกับให้การแสดงบทบาทเป็นไปตามวัตถุ
ประสงค์ที่กำหนดไว้
5) ผู้สอนต้องเป็นผู้คัดเลือกผู้แสดง ทั้งนี้เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามที่คาดหวัง
6) เป็นผู้ประเมินกระบวนการทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
9. บทบาทผู้เรียน
1) เป็นผู้แสดงบทบาทสมบูรณ์ตามที่ผู้สอนกำหนด
2) เป็นผู้สังเกตการณ์
3) เป็นผู้ชม
4) เป็นผู้แสดงความคิดเห็นหรือร่วมอภิปรายและสรุป
10. ขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียมการ ผู้สอนเป็นผู้กำหนดสถานการณ์หรือช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์หรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน แล้วกำหนดผู้แสดงบทบาทหรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน ทั้งนี้ส่วนใหญ่การแสดงบทบาทสมมุติจะแสดงทันทีทันใด โดยไม่ต้องมีการฝึกซ้อมมาก่อน โดยผู้สอนเพียงเป็นผู้อธิบายหรือซักซ้อมคร่าว ๆ เท่านั้น บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติ อาจจะใช้วิธีการทันทีทันใดแต่กำหนดหรือเลือกให้แสดงทันทีทันใด ผู้สอนต้องกำหนดผู้สังเกตการณ์และมอบหมายประเด็นที่จะสังเกตการณ์ให้ชัดเจน
ขั้นแสดง ให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทตามที่ได้รับมอบหมายหรือเตรียมมาซึ่งบางครั้งก็แสดงทันทีทันใด
ขั้นสรุป
เมื่อการแสดงจบลงผู้เรียนควรจะวิเคราะห์ อภิปราย และสรุป ด้วยตัวนักเรียนเอง ทั้งนี้อาจจะมีรูปแบบการอภิปรายตามความเหมาะสม บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติอาจจะต้องแสดงซ้ำเพราะว่าการแสดงในครั้งแรกเร็วเกินไปหรือไม่ชัดเจน
11. สื่อการสอนเมื่อสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ สื่อที่ใช้ในการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติส่วนใหญ่คือ ผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิด เนื้อหา และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ละขั้น และในการสรุปอาจจะใช้สื่ออื่นเสริมเพิ่มเติมก็ได้
12. การวัดและประเมินผล
ในส่วนของการแสดงบทบาทสมมุตินั้น ผู้สอนเป็นผู้ประเมินว่าผู้แสดงแสดงได้ในระดับใด แต่สิ่งที่ได้หรือข้อสรุปหรือแนวคิดที่ได้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป ผู้สอนก็ใช้วิธีสังเกตว่า ในพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างไร
13. ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1) ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
2) ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
3) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4) ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
5) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต
6) ทำให้ผู้เรียนรู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
7) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกได้มาก
ข้อจำกัด
1. หากการเตรียมการไม่ดีก็จะเสียเวลามาก
2. หากผู้แสดงอายหรือขัดเขินก็จะทำให้การแสดงนั้นไม่ชัดเจนแนบเนียน ทำให้เรื่อราวเปลี่ยนไป
3. หากการแสดงบางอย่างไปกระทบจิตใจผู้เรียนมากเกินไป อาจทำให้สถานการณ์
ของการแสดงเปลี่ยนไป
4. ผู้สอนที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาได้เองทั้งหมดก็อาจจะทำให้การแสดงนั้นมีอุปสรรคมาก
5. บางครั้งถ้าคาดหวังในสถานการณ์มากเกินไปก็ต้องเตรียมตัวมาก ซึ่งทำให้ไม่คุ้ม
กับการลงทุน
14. การปรับใช้การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การแสดงบทบาทสมมุติจะได้ผลดีและตรงกับแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญต้องคำนึงถึง
1) ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ก่อนที่จะให้ผู้เรียนได้แสดง
2) ผู้สอนต้องคาดหวังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วหาทางแก้ปัญหาไว้ก่อน
3) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเลือกสถานการณ์ บทบาท กำหนดผู้แสดง การวิเคราะห์ผล และสรุป อภิปรายผลโดยนักเรียนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4) ครูผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้เรียน อยากคิด อยากทำ อยาก
แสดง และต้องการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
5) บรรยากาศของการแสดงบทบาทสมมุติ ควรจะเป็นบรรยากาศของประชาธิปไตย
ไม่อึดอัดหรือไม่เต็มใจ
6) ขั้นการวิเคราะห์และสรุปผลเป็นขั้นที่สำคัญมาก ผู้สอนต้องกำกับและถ่ายทอดให้ผู้
เรียนได้เข้าใจและสรุปผลได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้
13. ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1) ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
2) ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
3) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4) ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
5) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต
6) ทำให้ผู้เรียนรู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
7) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกได้มาก
ข้อจำกัด
1. หากการเตรียมการไม่ดีก็จะเสียเวลามาก
2. หากผู้แสดงอายหรือขัดเขินก็จะทำให้การแสดงนั้นไม่ชัดเจนแนบเนียน ทำให้เรื่อราวเปลี่ยนไป
3. หากการแสดงบางอย่างไปกระทบจิตใจผู้เรียนมากเกินไป อาจทำให้สถานการณ์
ของการแสดงเปลี่ยนไป
4. ผู้สอนที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาได้เองทั้งหมดก็อาจจะทำให้การแสดงนั้นมีอุปสรรคมาก
5. บางครั้งถ้าคาดหวังในสถานการณ์มากเกินไปก็ต้องเตรียมตัวมาก ซึ่งทำให้ไม่คุ้ม
กับการลงทุน
14. การปรับใช้การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การแสดงบทบาทสมมุติจะได้ผลดีและตรงกับแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญต้องคำนึงถึง
1) ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ก่อนที่จะให้ผู้เรียนได้แสดง
2) ผู้สอนต้องคาดหวังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วหาทางแก้ปัญหาไว้ก่อน
3) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเลือกสถานการณ์ บทบาท กำหนดผู้แสดง การวิเคราะห์ผล และสรุป อภิปรายผลโดยนักเรียนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4) ครูผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้เรียน อยากคิด อยากทำ อยาก
แสดง และต้องการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
5) บรรยากาศของการแสดงบทบาทสมมุติ ควรจะเป็นบรรยากาศของประชาธิปไตย
ไม่อึดอัดหรือไม่เต็มใจ
6) ขั้นการวิเคราะห์และสรุปผลเป็นขั้นที่สำคัญมาก ผู้สอนต้องกำกับและถ่ายทอดให้ผู้
เรียนได้เข้าใจและสรุปผลได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้
วารี ถิรจิตร (https://www.gotoknow.org/posts/506108) กล่าวว่า บทบาทสมมติ หมายถึง
การสมมติบทบาทและจัดสถานการณ์ให้ผู้แสดงบทบาทได้แสดงความรู้สึกนึกคิดอารมณ์จากสถานการณ์ที่สมมติขึ้นซึ่งอาจจะเตรียมมาก่อน ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติ จะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงบทบาทความรู้สึกนึกคิดของผู้แสดง ผู้ดูและมีการสรุปผลของการแสดงบทบาทนั้นด้วย
การสมมติบทบาทและจัดสถานการณ์ให้ผู้แสดงบทบาทได้แสดงความรู้สึกนึกคิดอารมณ์จากสถานการณ์ที่สมมติขึ้นซึ่งอาจจะเตรียมมาก่อน ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติ จะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงบทบาทความรู้สึกนึกคิดของผู้แสดง ผู้ดูและมีการสรุปผลของการแสดงบทบาทนั้นด้วย
การแสดงบทบาทสมมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบกับสถานการณ์จริงในสภาพของการสมมติ ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ
การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น นั่นคือแสดงบทบาทที่กำหนดให้ การแสดงบทบาทสมมติมี 2 ลักษณะ คือ
1. ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่น โดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเองหรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อนหรือเป็นบุคคลสมมติ
2. ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตน แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ
บทบาทสมมติที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบันนี้ แยกได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1. การแสดงบทแสดงละคร วิธีนี้ผู้ที่จะแสดงต้องฝึกซ้อมแสดงท่าทางตามบทที่กำหนดขึ้นไว้แล้ว เช่น การแสดงละครเรื่องที่เกี่ยวกับบทเรียนในหนังสือเรียนภาษาไทย ผู้แสดงบทบาทสมมติแบบละคร จะต้องพูดตามบทบาทที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น
2. การแสดงบทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้ ผู้แสดงต้องไม่ฝึกซ้อมมาก่อนเรียนไปถึงเรื่องใดตอนใดก็ออกมาแสดงได้ทันที โดยแสดงไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เช่น แสดงเป็นบุคคลต่างๆ ในชุมนุมชน เป็นหมอ เป็นทหาร เป็นตำรวจ นักเรียนได้คิด ได้พูดและแสดงพฤติกรรมจากความรู้สึกนึกคิดของเขาเอง
3. การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมบทไว้พร้อม ผู้สอนได้เตรียมบทมาไว้ล้วงหน้าบอกความคิด รวบยอดให้ผู้แสดงทราบ ผู้แสดงอาจต้องแสดงตามบทบาทบ้าง คิดบทบาทขึ้นแสดงเองตามความพอใจบ้าง แต่ต้องตรงกับเนื้อเรื่องที่กำหนดให้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นเตรียมการใช้บทบาทสมมติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจพื้นฐานเสียก่อนว่า ต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการแสดงและกรรมวิธีในการใช้บทบาทสมมตินำไปเพื่อต้องการให้เกิดอะไรขึ้น
1.2 ขั้นสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติ เมื่อผู้สอนได้ศึกษาและเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะในการเตรียมใช้บทบาทสมมติแล้ว ก็จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติให้สอดคล้องต้องกันกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องเล็งเห็นถึงวัยของผู้เรียน เนื้อหาสาระ ปัญหา ความเป็นจริง ข้อโต้แข้ง ตลอดจนอุปสรรคที่จำเป็นต่างๆ ที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ปฏิบัติและแก้ไขด้วยตนเอง
2. ขั้นแสดงบทบาทสมมติ แบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การนำเข้าสู่สถานการณ์ ผู้สอนเตรียมเรื่องหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียน แล้วนำเรื่องราวมาเล่าให้ผู้เรียนฟัง เพื่อเป็นการเร้าความสนใจ เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนและ อยากติดตาม และควรให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ จากการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมตินั้นๆ
2.2 การกำหนดตัวผู้แสดง การเลือกผู้แสดงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการสอนและ การแสดงสำหรับการเลือกตัวผู้แสดง ควรให้ผู้เรียนอาสาสมัครมาแสดงบทบาทด้วยความเต็มใจ
2.3 การจัดสถานที่ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมมือในการจัดสถานที่สำหรับการแสดงบทบาทสมมติ ซึ่งควรจัดและดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่กำหนดไว้
2.4 การกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์ โดยผู้สอนอาจจะกำหนดผู้เรียนกลุ่มหนึ่งให้เป็น
ผู้สังเกตการณ์ในการแสดงบทบาท โดยฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ อภิปราย และแก้ปัญหาร่วมกัน หลังจากสิ้นสุดการแสดงบทบาทสมมติแล้ว
ผู้สังเกตการณ์ในการแสดงบทบาท โดยฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ อภิปราย และแก้ปัญหาร่วมกัน หลังจากสิ้นสุดการแสดงบทบาทสมมติแล้ว
2.5 การเตรียมพร้อมก่อนการแสดง วิธีเตรียมความพร้อมนั้นผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือไม่ให้ผู้เรียนต้องมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแสดงให้มากเกินไป ควรชี้แจงให้ผู้แสดงทราบว่า การแสดงก็เหมือนกับการพูด คุย และเล่นกันธรรมดา เพียงแต่ต้องแสดงบทบาทต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น
2.6 การลงมือแสดง เมื่อผู้แสดงพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือแสดงได้เลย ควรเปิดโอกาสให้ ผู้แสดงได้ใช้ความสามารถของตนได้เต็มที่ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในขณะที่แสดง ผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามธรรมชาติและราบรื่นต่อไป
2.7 การตัดบท ถ้าบังเอิญการแสดงของผู้เรียนยืดเยื้อและใช้เวลานานเกินความจำเป็นและผู้สอนที่ความคิดเห็นว่าได้ข้อมูลในการแสดงพอสมควรแล้ว ก็สามารถขอให้ยุติการแสดง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายและแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อไป
3. ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผล การนำข้อมูลที่ได้จากการแสดงมาวิเคราะห์และอภิปราย ผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกัน แต่ควรอภิปรายในรูปแบบของความมีเหตุมีผลเฉพาะการแสดงออกของผู้แสดงทางพฤติกรรมเท่านั้น แต่จะไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวผู้แสดง
4. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป เมื่อได้วิเคราะห์และอภิปรายผลของการแสดงแล้ว ผู้สอนจะเป็นผู้เร้าและจูงใจให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้มีแนวคิดกว้างขวางขึ้น โดยให้ข้อคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือประสบพบเห็นนั้นๆ จะเกี่ยวข้องกับความเป็น จริงทั้งสิ้น แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันให้แนวมโนทัศน์และช่วยกันสรุปประเด็นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติที่กำหนดไว้
ทิศนา แขมมณี (http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121833/innovation/index.php/2014-02-21-08-22-26) กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
จุดมุ่งหมายของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง
องค์ประกอบของการสอนแบบบทบาทสมมติ
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2. มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
3. มีการแสดงบทบาทสมติ
4. มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของ ผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
1. ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอนและผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
สรุป
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
หมายถึง
การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้
เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น
การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด
กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด
เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
องค์ประกอบของการสอนแบบบทบาทสมมติ
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2.
มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
3.
มีการแสดงบทบาทสมติ
4.
มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของ
ผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
5.
มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.
ขั้นเตรียมการใช้บทบาทสมมติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจพื้นฐานเสียก่อนว่า ต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการแสดงและกรรมวิธีในการใช้บทบาทสมมตินำไปเพื่อต้องการให้เกิดอะไรขึ้น
1.2 ขั้นสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติ
เมื่อผู้สอนได้ศึกษาและเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะในการเตรียมใช้บทบาทสมมติแล้ว
ก็จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติให้สอดคล้องต้องกันกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ซึ่งจำเป็นต้องเล็งเห็นถึงวัยของผู้เรียน เนื้อหาสาระปัญหา ความเป็นจริง ข้อโต้แข้ง ตลอดจนอุปสรรคที่จำเป็นต่างๆ ที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ปฏิบัติและแก้ไขด้วยตนเอง
2.
ขั้นแสดงบทบาทสมมติ แบ่งเป็น 7 ขั้นตอนดังนี้
2.1 การนำเข้าสู่สถานการณ์ ผู้สอนเตรียมเรื่องหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียน
แล้วนำเรื่องราวมาเล่าให้ผู้เรียนฟัง เพื่อเป็นการเร้าความสนใจ
เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนและ อยากติดตาม และควรให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ
จากการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมตินั้นๆ
2.2 การกำหนดตัวผู้แสดง การเลือกผู้แสดงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการสอนและ การแสดงสำหรับการเลือกตัวผู้แสดง
ควรให้ผู้เรียนอาสาสมัครมาแสดงบทบาทด้วยความเต็มใจ
2.3 การจัดสถานที่ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมมือในการจัดสถานที่สำหรับการแสดงบทบาทสมมติ ซึ่งควรจัดและดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่กำหนดไว้
2.4 การกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์
โดยผู้สอนอาจจะกำหนดผู้เรียนกลุ่มหนึ่งให้เป็น
ผู้สังเกตการณ์ในการแสดงบทบาท โดยฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ อภิปราย และแก้ปัญหาร่วมกัน หลังจากสิ้นสุดการแสดงบทบาทสมมติแล้ว
2.5 การเตรียมพร้อมก่อนการแสดง วิธีเตรียมความพร้อมนั้นผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือไม่ให้ผู้เรียนต้องมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแสดงให้มากเกินไป
ควรชี้แจงให้ผู้แสดงทราบว่า การแสดงก็เหมือนกับการพูด คุย และเล่นกันธรรมดา เพียงแต่ต้องแสดงบทบาทต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น
2.6 การลงมือแสดง เมื่อผู้แสดงพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือแสดงได้เลย
ควรเปิดโอกาสให้ ผู้แสดงได้ใช้ความสามารถของตนได้เต็มที่ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในขณะที่แสดง ผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามธรรมชาติและราบรื่นต่อไป
2.7 การตัดบท ถ้าบังเอิญการแสดงของผู้เรียนยืดเยื้อและใช้เวลานานเกินความจำเป็นและผู้สอนที่ความคิดเห็นว่าได้ข้อมูลในการแสดงพอสมควรแล้ว ก็สามารถขอให้ยุติการแสดง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายและแก้ไขปัญหาต่างๆ
ต่อไป
3.
ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผล การนำข้อมูลที่ได้จากการแสดงมาวิเคราะห์และอภิปราย
ผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกัน แต่ควรอภิปรายในรูปแบบของความมีเหตุมีผลเฉพาะการแสดงออกของผู้แสดงทางพฤติกรรมเท่านั้น
แต่จะไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวผู้แสดง
4.
ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป เมื่อได้วิเคราะห์และอภิปรายผลของการแสดงแล้ว
ผู้สอนจะเป็นผู้เร้าและจูงใจให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้มีแนวคิดกว้างขวางขึ้น โดยให้ข้อคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือประสบพบเห็นนั้นๆ
จะเกี่ยวข้องกับความเป็น จริงทั้งสิ้น แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันให้แนวมโนทัศน์และช่วยกันสรุปประเด็นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติที่กำหนดไว้
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.[online].http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121833/innovation/index.php/2014-02-21-08-22-26.การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ.สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2558.
วารี ถิรจิตร.[online]. https://www.gotoknow.org/posts/506108.การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ.สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2558.
Natthaset teeratitham.[online].https://www.l3nr.org/posts/158821.การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ.สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2558.